เรามีการบริการสอบเทียบเครื่องมือวัด เพื่อให้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางเทคนิคที่แสดงค่าเป็นตัวเลขที่เชื่อถือได้ และมีมาตรฐานรองรับ การสอบเทียบ จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ ซึ่ง ทีโอที มีบริการสอบเทียบแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอก ทีโอที ดังนี้
• ห้องปฏิบัติการสอบเทียบทางด้านไฟฟ้าที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 เพื่อให้บริการสอบเทียบ เช่น DC Voltage, AC Voltage, DC Current, AC Current, DC Resistance Frequency, RF/Microwave
• ห้องปฏิบัติการสอบเทียบทางด้าน Optical Fiber Instrument เช่น OTDR Optical Fiber, Light Source, Optical Power Meter, และ Attenuator รถซ่อมและสอบเทียบเคลื่อนที่ ให้บริการซ่อมและสอบเทียบเครื่องมือทดสอบทั่วภูมิภาคที่ใช้งานในกิจการ ทีโอที
• ห้องปฏิบัติการสอบเทียบทางด้าน การกระจายเสียงวิทยุชมชนตามมาตรฐาน กสทช. และ รถสอบเทียบเคลื่อนที่
ระบบงานจัดการส่วนซ่อมและสอบเทียบ
ระบบงานสำหรับเจ้าหน้าที่บริการงานซ่อมและสอบเทียบ เข้าสู่ระบบ
งานกองซ่อมและปรับเทียบ
1. งานซ่อมและสอบเทียบเครื่องมือทดสอบ
ในกิจการขององค์การโทรศัพท์ฯ จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือทดสอบต่าง ๆ มากมายในการบำรุงรักษาโครงข่าย เครื่องมือทดสอบเหล่านี้ ได้แก่ Signal Generator, Oscilloscope, Level Meter, Frequency Counter, DMM, VOM เป็นต้น เครื่องมือเหล่านี้ เมื่อเกิดการชำรุดหรือเมื่อใช้งานไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง จะเกิดความคลาดเคลื่อนจากการใช้งาน จำเป็นต้องได้รับการซ่อมและสอบเทียบกับค่ามาตรฐานเป็นระยะๆ ตามเวลาที่กำหนด ซึ่งเป็นหลักสากลที่ทั่วโลกปฏิบัติเช่นกัน กองซ่อมและปรับเทียบมีหน้าที่รับผิดชอบการซ่อมและสอบเที่ยบเครื่องมือทดสอบของหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์การโทรศัพท์ฯ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยในส่วนภูมิภาค กองซ่อมและปรับเทียบจะมีรถสอบเทียบเคลื่อนที่จำนวน 2 คัน ซึ่งภายในติดตั้งเครื่องมือที่มีสมรรถนะเช่นเดียวกับที่ใช้ในส่วนกลางเดินทางออกให้บริการซ่อมและสอบเทียบเครื่องมือทดสอบยังหน่วยงานต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาค ซึ่งขณะนี้มีกว่า 70 แห่งทั่วประเทศ
นอกจากบริการซ่อมและสอบเทียบเครื่องมือทดสอบให้แก่หน่วยงานขององค์การโทรศัพท์ฯ แล้ว ยังให้บริการสอบเทียบแก่หน่วยงานภายนอกองค์การโทรศัพท์ฯ ด้วย เช่น บริษัทร่วมการงานกับองค์การโทรศัพท์ฯ เป็นต้น โดยคิดค่าบริการตามระเบียบขององค์การโทรศัพท์ฯ
2. งานตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
เนื่องจากทางกองซ่อมและปรับเทียบมีเครื่องมือทดสอบต่าง ๆ ที่ใช้เป็นมาตรฐาน ดังนั้นจึงเหมาะที่จะใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือทดสอบ ทั้งหลายที่องค์การโทรศัพท์ฯ สั่งซื้อเข้ามาในงาน ให้ได้ตามข้อกำหนดคุณภาพของเรื่องมือนั้น ๆ ก่อนที่จะถูกนำไปใช้งาน
3. งานควบคุมมาตรฐานอ้างอิง
เครื่องมือทดสอบที่ใช้เป็นมาตรฐานต่าง ๆ สำหรับการสอบเทียบหรือตรวจสอบคุณภาพได้ถูกจัดแบ่งประเภทออกเป็น
– Working Standards
– Reference Standards
Working Standards เป็นเครื่องมือมาตรฐานที่ใช้สำหรับการสอบเทียบให้แก่เครื่องมือทดสอบที่ถูกส่งเข้ามารับบริการ และ Reference Standards เป็นเครื่องมือมาตรฐานที่มีความเที่ยงตรงสูง จะถูกใช้เป็นเครื่องมือมาตรฐานให้การสอบเทียบให้แก่ Working Standards อีกทอดหนึ่ง ส่วนเครื่องมือ Reference Standards ก็จำเป็นต้องได้รับการสอบเทียบกับเครื่องมือมาตรฐานที่มีความเที่ยงตรงสูงกว่าอีกเช่นเดียวกัน เครื่องมือเหล่านี้จะถูกส่งออกไปรับการสอบเทียบยังสถานบันภายนอกที่มีความเชื่อถือและได้การรับรองแล้วกับมาตรฐานสากลของโลก เช่น ห้องปฏิบัติการของบริษัทการบินไทย เป็นต้น
TOT TRACEABILITY
จะเห็นได้ว่า เครื่องมือทดสอบต่าง ๆ ที่ผ่านการสอบเทียบกับค่ามาตรฐานแล้วจะได้รับการถ่ายทอดความเที่ยงตรงจากค่ามาตรฐานสากลผ่าน Reference Standards และ Working Standards จนมาถึงตัวเครื่องมือทดสอบนั้น ๆ โดยไม่ขาดตอนเลย สิ่งนี้เป็นหลักสากลที่ทั่วโลกปฏิบัติ เรียกว่า Traceability Chainสำหรับกองซ่อมและปรับเทียบได้จัดระบบ Traceability ดังกล่าว ดังแสดงใน TOT Traceability Chart
REFERENCE STANDARDS
Reference Standards สำหรับการสอบเทียบเครื่องมือทดสอบจะถูกแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
• Frequency Standards
สำหรับมาตรฐานอ้างอิงทางด้านความถี่ที่ใช้อยู่มี 2 ระบบ ระบบแรกใช้วิธีการรับความถี่มาตรฐานจากSatellite (ระบบ GPS) และระบบที่สองใช้วิธีการรับความถี่มาตรฐานแบบ VLF Receiver จากสถานีวิทยุที่ให้บริการทางด้านนี้ เช่น Tsushima Japan เป็นต้น เราจะนำความถี่มาตรฐานที่รับได้นี้มาเปรียบเทียบกับความถี่มาตรฐานที่ผลิตขึ้นมา เพื่อปรับ Rubidium Frequency Standards ให้เข้าใกล้เคียงหรือเท่ากับความถี่มาตรฐานที่รับมานั้น แล้วจึงนำความถี่มาตรฐานที่ผลิตจาก Rubidium Frequency Standards เป็นมาตรฐานเพื่อนำไปใช้งานกับเครื่องมือ Working Standards ต่าง ๆ ความถี่มาตรฐานนี้ให้ความเที่ยงตรงสูง มีค่าความผิดพลาดเพียง ±1x12-12
• Voltage Standards
เช่นเดียวกับมาตรฐานทางด้านความถี่ ก็ต้องมีมาตรฐานด้าน Voltage ด้วยเหมือนกัน ทางด้าน DC Voltage ใช้ DC Reference Standards ของ Fluke 732B จำนวน 3 ตัว ซึ่งให้ค่า 1.018V และ 10V ความเที่ยงตรง ±2 ppm และ AC Voltage ใช้ AC Measurement Standards (AC-DC Transfer) ของ Fluke 5790A ความเที่ยงตรง ±24 ppm
• Passive Components Standards
Passive Components Standards เหล่านี้ได้แก่ Resistance, Capacitance และ Inductance เป็นตัวอุปกรณ์มาตรฐานที่ค่าต่างๆกัน ปัจจุบันกองซ่อมและสอบเทียบมีมาตรฐานอ้างอิง Resistance Standardsซึ่งมีความเที่ยงตรง ±1.0 ppm จนถึง ±20.0 ppm ส่วนทางด้าน Capacitance และ Inductance มีใช้งานอยู่ในระดับ Working Standards เท่านั้นเนื่องจากมีการใช้งานน้อย
ห้องปฏิบัติการ
ซ่อมและสอบเทียบ ได้จัดแบ่งแยกห้องปฏิบัติการและมีการควบคุมสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปดังนี้
1. ห้องปฏิบัติการ Reference Standards
ใช้สำหรับการสอบเทียบเครื่องมือ Working Standards ภายในห้องปฏิบัติการติดตั้งเครื่องมือมาตรฐานที่มีความเที่ยงตรงสูงมาก เพื่อใช้เป็น Reference standards
พื้นที่ 16 ตารางเมตร
อุณหภูมิ 23 ๐C ±2 ๐C
ความชื้น 56% RH ±10% RH
2. ห้องปฏิบัติการสอบเทียบเครื่องมือทดสอบ
ใช้สำหรับการสอบเทียบเครื่องมือทดสอบต่าง ๆ ที่ส่งเข้ามาของรับบริการภายในห้องปฏิบัติการติดตั้งเครื่องมือ Working Standards ต่าง ๆ เพื่อการสอบเทียบ
พื้นที่ 48 ตารางเมตร
อุณหภูมิ 23 ๐C ±2 ๐C
ความชื้น 50% RH ±15% RH
ขอบข่ายงานบริการสอบเทียบ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005
3. ห้องปฏิบัติการซ่อมเครื่องมือทดสอบ
ใช้สำหรับซ่อมเครื่องมือทดสอบต่าง ๆ ก่อนที่จะถูกส่งไปรับการสอบเทียบ ภายในห้องปฏิบัติการติดตั้งเครื่องมืออย่างเพียงพอและเหมาะสมสำหรับงานซ่อมเครื่องมือทดสอบ
พื้นที่ 144 ตารางเมตร
4. ห้องปฏิบัติการ Optical
ใช้สำหรับงานตรวจสอบและงานสอบเทียบเครื่องมือทดสอบทางด้าน Optical
พื้นที่ 48 ตารางเมตร
อุณหภูมิ 23 ๐C ±5 ๐C
ความชื้น 50% RH ±15% RH
5. ห้องพัสดุ
ใช้เก็บอะไหล่เครื่องมือทดสอบและเครื่องมือต่าง ๆ ที่เข้ามาขอรับบริการ ภายในห้องได้จัดชั้นวางเครื่องมือต่าง ๆ แบ่งแยกไว้ชัดเจนเพื่อรอดำเนินการต่าง ๆ ต่อไป
พื้นที่ 48 ตารางเมตร